วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุที่เว็บ E-Commerce ไม่ประสบความสำเร็จ

สาเหตุที่เว็บ E-Commerce  ไม่ประสบความสำเร็จ

การ ทำอีคอมเมิร์ชนั้น คงไม่ใช่แค่เพียงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วใครต่อใครก็ต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปดูกันได้เท่านั้น เพราะหากว่าไปแล้ว เว็บไซต์ก็เหมือน "ภาพพจน์" หนึ่งของบริษัท หากท่านอยากทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงอุปสรรคเหล่านี้ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญวัดชะตาว่าเว็บของท่านจะ รุ่งหรือร่วง

1. การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้า
บางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆ
ที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบายรับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก

2. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยี
มีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป

3. ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง

4. ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บขาดความเชื่อถือ
ดังนั้น เมื่อเปิดเว็บแล้ว ต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า

6. ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี, รูปแบบ, ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น

7. การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์ครั้งที่ 9

                              คำศัพท์ครั้งที่ 9
 
1. PKI คือ ระบบป้องกันข้อมูลวนการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนท PKIจะใช้กุญแจคู่ (Key pairs) ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลโดย กุญแจนี้ประกอบด้วย กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key)
2. Denial of Service หมายถึงการถูกโจมตีหรือถูกส่งคาร้องขอต่าง ๆ จากเครื่องปลายทางจานวนมากในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งทาให้เครื่องแม่ข่าย(Server)ที่เปิดให้บริการต่าง ๆ ไม่สามารถให้บริการได้  
3. Non-Repudiation คือ วิธีการสื่อสารซึ่งผู้ส่งข้อมูลได้รับหลักฐานว่าได้มีการส่งข้อมูลแล้วและ ผู้รับก็ได้รับการยืนยันว่าผู้ส่งเป็นใคร ดังนั้นในภายหน้าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่มีความ เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว  

4. Private key คือ กุญแจส่วนตัว ซึ่งใช้ถอดรหัสข้อมูล ( Decryption เนื่องจากความต้องการที่จะรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ จึงต้องมีการแปลงข้อมูลโดยการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption ) เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นสามารถอ่านข้อมูลนั้นได้ โดยให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาต สามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น   

5. Cryptography หรือ ระบบการรหัส หมายถึง ระบบที่ผู้ส่งข้อความเข้ารหัส (Encrypt) เปลี่ยนแปลงข้อมูล จากข้อความปกติ (Plain Text) ไปเป็นข้อความที่เข้ารหัส (Cipher text) หลังจากนั้นจึงส่งข้อความไปให้ผู้รับ ทางผู้รับจะถอดรหัสข้อมูล (Decrypt)เพื่อให้ได้ข้อความปกติเหมือนดังที่ส่งมา วัตถุประสงค์ของ Cryptography ก็ เพื่อที่จะปกปิดข้อมูลให้เป็นความลับในระหว่างที่ส่งข้อมูล โดยแม้จะมีผู้แอบลักลอบดูข้อมูลก็ไม่สามารถอ่านข้อความนั้นๆ ได้ เนื่องจากได้เป็นข้อมูลที่อ่านไม่ออกเพราะไม่สามารถถอดรหัสให้อ่านออกได้

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์ครั้งที่ 6

                                                             คำศัพท์ครั้งที่ 6

1. Anomaly Detection Model แบบแผนที่ใช้ในการตรวจจับการบุกรุกโดยมองหากิจกรรมของผู้ใช้หรือของระบบที่ผิดแปลกไปจากปกติ
 

2. Application Level Gateway(Firewall) Gateway ระดับ Application (Firewall): ระบบ firewall ที่มี process หนึ่งให้บริการโดยที่มีการคงไว้ซึ่งสถานะและลำดับขั้นต่างๆ ในการเชื่อมต่อแบบ TCP โดย
สมบูรณ์ firewall ในระดับ application นี้ส่วนใหญ่จะเปลี่ยน address ของ traffic โดยทำให้ traffic ที่ออกไปเป็นเสมือนกับ traffic ที่มีแหล่งกำเนิดจาก firewall เอง แทนที่จะกำเนิดจาก host ภายใน
 

3. ASIM - Automated Security Incident Measurement การวัดเหตุการณ์ความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ: การเฝ้าดู traffic ในเครือข่ายและเก็บสะสมข้อมูลจากเครือข่าย เป้าหมายโดยการตรวจจับกิจกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตในเครือข่าย
 

4. Assessment การประเมิน: การสำรวจและตรวจสอบ การวิเคราะห์ถึงความล่อแหลม (vulnerability) ของระบบข้อมูลอัตโนมัติ กระบวนการนำมาและตรวจดูซึ่งข้อมูล ที่จะช่วยผู้ใช้ให้สามารถตัดสินใจถึงการใช้ทรัพยากรในการปกป้องข้อมูลในระบบ
 

5. Assurance การ รับรอง: สิ่งบ่งบอกถึงความมั่นใจว่าระบบความปลอดภัยและสถาปัตยกรรมของระบบข้อมูล อัตโนมัตินั้นนำมาซึ่งการใช้บังคับนโยบายรักษาความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง